แชร์

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร? อาการ สาเหตุ และแนวทางการรักษา

อัพเดทล่าสุด: 25 ก.พ. 2025
107 ผู้เข้าชม

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease : GERD) 
        คือ โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือในช่วงที่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหาร โรคนี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองจากกรด เช่น อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร เช่น อาการทาง ปอด หรืออาการทางคอและกล่องเสียง 

สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
        โรคกรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปกติบริเวณบริเวณหูรูดกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โดยพบว่าผู้ป่วยกรดไหลย้อนจะมีการคลายตัวของหูรูดกระเพาะอาหารที่มากกว่าปกติ หรือมี การบีบตัวของกระเพาะอาหารที่ลดลง 


อาการของกรดไหลย้อน
แบ่งอาการเป็นอาการในหลอดอาหารและอาการนอกหลอดอาหาร 

อาการในหลอดอาหาร (พบได้บ่อยกว่า) ได้แก่    

  • แสบร้อนกลางอก
  • เรอเปรี้ยว
  • รู้สึกเหมือนมีรสขม หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
  • รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย 

อาการนอกหลอดอาหาร (พบได้ไม่บ่อย) ได้แก่ 

  • รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
  • เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
  • ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
  • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแพบเฉพาะตอนเช้า กล่องเสียงอักเสบ
  • อาการหอบหืดแย่ลง หรือไม่ดีขึ้นจากการใช้ยา
  • เป็นโรคปอดอักเสบ เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยบางคนอาจตรวจเอกซเรย์พบพังผืดในปอดได้
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอกซึ่งเป็นอาการคล้ายโรคหัวใจ 
  • มีฟันกร่อนสึก

การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน
สำหรับการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนจะใช้ประวัติและตรวจร่างกาย แต่หากใครที่มีสัญญาณอันตรายหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจจะต้องทำการตรวจค้นเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป 
** สัญญาณอันตราย** เช่น กลืนติด กลืนเจ็บ กลืนลำบาก น้ำหนักลด มีภาวะซีด อาเจียนเป็นเลือด


การรักษาโรคกรดไหลย้อน
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หลีกเหลี่ยงอาหารรสเผ็ด ต้องรับประทานอาหารก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง , การออกกำลังกาย , การลดน้ำหนัก
2. การใช้ยา เช่น ยาลดกรด , ยาเคลือบหลอดอาหาร , ยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหาร


ใครที่มีปัญหาเหล่านี้สามารถมาปรึกษาที่พร้อมแพทย์คลินิกได้เลยครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
H.pylori เชื้อแบคทีเรียร้าย สาเหตุมะเร็งกระเพาะอาหาร
เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori หรือ H.pylori อาศัยอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง โรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร การหาตรวจเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ทำได้โดย การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น หรือ การตรวจผ่านลมหายใจ ที่เรียกว่า urea breath test
11 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy